วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ชุมชนริมน้ำจันทบูร


ชุมชนริมน้ำจันทบูร หรือ ย่านท่าหลวง ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรีด้านตะวันตกแต่เดิมรู้จักกันในชื่อที่เรียกกันติดปากว่า "บ้านลุ่ม" ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนและญวนอพยพตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาได้พัฒนา มาเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าของจันทบุรีที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 มีจุดเริ่มต้นจากเชิงสะพาน วัดจันทร์ ผ่านบ้านท่าหลวงยาวเป็นแนวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่าง บริเวณที่เรียกว่าท่าเรือจ้าง อาคารส่วนใหญ่ เป็นที่พักอาศัย และร้านค้าของชุมชน ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเป็นตึกแถว โบราณมีลวดลายไม้จำหลักอ่อนช้อยงดงาม อยู่ตามบานประตูหน้าต่างและมุมอาคาร ซึ่งจะพบรูปแบบเรือน ขนมปังขิงปะปนอยู่ด้วย เพราะชาวจันทบุรีได้รับอิทธิพลจากการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5  ลักษณะการฉลุลายของช่างฝีมือชาวจันทบุรีจัดได้ว่ามีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะการจำหลักฉลุช่องลม เป็นภาพจำหลักนูนรูปหัวพยัคฆ์สอดแทรก อยู่ตามกิ่งเครือเถาหรือความคมเฉียบของลายที่ แฝงไปด้วยความ อ่อนช้อย ของลายจำหลัก ย่านท่าหลวงจึงถือว่าเป็นย่านประวัติศาสตร์ของ จ.จันทบุรี  
ย่านท่าหลวง-ตลาดล่าง มีความสำคัญต่อบทบาทการค้ากับต่างประเทศของจันทบุรีในยุคนั้น คือเป็นจุดที่เรือ บรรทุกสินค้าของป่าที่รวบรวมมาได้จากป่าแถบตะเคียนทอง น้ำขุ่น คลองพลู วังแซ้มในบริเวณ เขาคิชฌกูฎและ เขาสอยดาว จะล่องลงมาตามลำน้ำจันทบุรีและมาเทียบท่าที่ตลาดท่าหลวงโดยมีกล่มชาวชองซึ่งเป็น ชนพื้นเมือง เดิมที่อาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาในจันทบุรี ระยองและตราด เป็นแรงงานในการจัดเก็บของป่านำมาจำหน่าย ในตัว เมืองจันทบุรี ในปีหนึ่งชาวชองจะล่องแพนำสินค้ามาจำหน่ายในเมืองเพียงครั้งเดียว คือในระหว่างเดือน 10 ถึง 12 (เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน) เนื่องจากเป็นฤดูน้ำหลากสามารถล่องแพลงมาตามลำน้ำได้สะดวก ส่วนในฤดูแล้ง ระหว่างเดือน 3 ถึง 5 (เดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนเมษายน)ต้องลำเลียงทางเกวียนซึ่งลำบากและใช้เวลานาน จึงไม่ เป็นที่นิยมในช่วงที่กองทหารฝรั่งเศสเข้ามายึดครองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447) การค้าขายในย่านนี้เป็นไป อย่าง คึกคักนอกจากสินค้าป่าแล้วยังมีการลักลอบจำหน่ายสินค้าประเภทสุรา ฝิ่น กาแฟ ชา การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของย่านท่าหลวง-ตลาดล่างส่งผลให้ทางรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ต่างๆ ในบริเวณนี้ก่อนบริเวณอื่น
ในปี พ.ศ. 2451 จึงได้ประกาศให้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลที่ตำบลตลาดเมืองจันทบุรีเป็น แห่งแรกในเขต จันทบุรี นอกจากนี้ในช่วงที่มีการค้าขยายตัว มีจำนวนประชากรอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวในย่านนี้ถึงปีละ 100 คน เศษมีพ่อค้าต่างถิ่น อาทิ แขก กุหล่า พม่า เข้ามาตั้งร้านค้าชั่วคราวรวมทั้งมีพ่อค้าเร่จากบ่อพลอยไพลิน บ่อนาวง ที่มาซื้อขายสินค้าต่างๆ และนำพลอยมาขายปีละนับพันคนเมื่อศูนย์กลางการค้าภายใน เมืองจันทบุรีย้ายไปอยู่ที่ ตลาดน้ำพุลักษณะทางกายภาพของท่าหลวง-ตลาดล่างยังปรากฏให้เห็นวัฒนธรรมการตั้งบ้าน เรือนหรือ ร้านค้าที่ หันหลังให้แม่น้ำ หันหน้าเข้าสู่ถนนบ้านเรือนเป็นเรือนติดดินนิยมสร้างเป็นเรือนหลังใหญ่ทรงจั่วใช้วัสดุ ในท้องถิ่น ก่อสร้าง อาทิ ไม้แฝก ใบจากนิยมยื่นชายคากออกมาเพื่อเป็นร้านค้าติดระเบียงทางเดิน ด้านหน้าตาม ลักษณะที่ พักอาศัยกึ่งพาณิชย์อันเป็นลักษณะวัฒนธรรมการค้าขายของชาวจีน อาคารพักอาศัยและร้านค้า ย่านท่าหลวง เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมาก ควรจะมีการอนุรักษ์เอาไว้เพื่อการท่องเที่ยว หรือโฮมสเตย์ ปัจจุบันยังมีกองถ่ายละคร และกองถ่ายภาพยนตร์ รวมทั้งภาพยนตร์โฆษณา มาใช้โลเกชั่น บริเวณ นี้กันบ่อยๆ


















































































































แผนที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจกับบล็อคนี้

ข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์

แบบประเมินความพึงพอใจการอบรม Google Docs

 
Blogger Templates