Featured Posts

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ชุมชนริมน้ำจันทบูร


ชุมชนริมน้ำจันทบูร หรือ ย่านท่าหลวง ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรีด้านตะวันตกแต่เดิมรู้จักกันในชื่อที่เรียกกันติดปากว่า "บ้านลุ่ม" ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนและญวนอพยพตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาได้พัฒนา มาเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าของจันทบุรีที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 มีจุดเริ่มต้นจากเชิงสะพาน วัดจันทร์ ผ่านบ้านท่าหลวงยาวเป็นแนวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่าง บริเวณที่เรียกว่าท่าเรือจ้าง อาคารส่วนใหญ่ เป็นที่พักอาศัย และร้านค้าของชุมชน ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเป็นตึกแถว โบราณมีลวดลายไม้จำหลักอ่อนช้อยงดงาม อยู่ตามบานประตูหน้าต่างและมุมอาคาร ซึ่งจะพบรูปแบบเรือน ขนมปังขิงปะปนอยู่ด้วย เพราะชาวจันทบุรีได้รับอิทธิพลจากการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5  ลักษณะการฉลุลายของช่างฝีมือชาวจันทบุรีจัดได้ว่ามีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะการจำหลักฉลุช่องลม เป็นภาพจำหลักนูนรูปหัวพยัคฆ์สอดแทรก อยู่ตามกิ่งเครือเถาหรือความคมเฉียบของลายที่ แฝงไปด้วยความ อ่อนช้อย ของลายจำหลัก ย่านท่าหลวงจึงถือว่าเป็นย่านประวัติศาสตร์ของ จ.จันทบุรี  
ย่านท่าหลวง-ตลาดล่าง มีความสำคัญต่อบทบาทการค้ากับต่างประเทศของจันทบุรีในยุคนั้น คือเป็นจุดที่เรือ บรรทุกสินค้าของป่าที่รวบรวมมาได้จากป่าแถบตะเคียนทอง น้ำขุ่น คลองพลู วังแซ้มในบริเวณ เขาคิชฌกูฎและ เขาสอยดาว จะล่องลงมาตามลำน้ำจันทบุรีและมาเทียบท่าที่ตลาดท่าหลวงโดยมีกล่มชาวชองซึ่งเป็น ชนพื้นเมือง เดิมที่อาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาในจันทบุรี ระยองและตราด เป็นแรงงานในการจัดเก็บของป่านำมาจำหน่าย ในตัว เมืองจันทบุรี ในปีหนึ่งชาวชองจะล่องแพนำสินค้ามาจำหน่ายในเมืองเพียงครั้งเดียว คือในระหว่างเดือน 10 ถึง 12 (เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน) เนื่องจากเป็นฤดูน้ำหลากสามารถล่องแพลงมาตามลำน้ำได้สะดวก ส่วนในฤดูแล้ง ระหว่างเดือน 3 ถึง 5 (เดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนเมษายน)ต้องลำเลียงทางเกวียนซึ่งลำบากและใช้เวลานาน จึงไม่ เป็นที่นิยมในช่วงที่กองทหารฝรั่งเศสเข้ามายึดครองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447) การค้าขายในย่านนี้เป็นไป อย่าง คึกคักนอกจากสินค้าป่าแล้วยังมีการลักลอบจำหน่ายสินค้าประเภทสุรา ฝิ่น กาแฟ ชา การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของย่านท่าหลวง-ตลาดล่างส่งผลให้ทางรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ต่างๆ ในบริเวณนี้ก่อนบริเวณอื่น
ในปี พ.ศ. 2451 จึงได้ประกาศให้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลที่ตำบลตลาดเมืองจันทบุรีเป็น แห่งแรกในเขต จันทบุรี นอกจากนี้ในช่วงที่มีการค้าขยายตัว มีจำนวนประชากรอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวในย่านนี้ถึงปีละ 100 คน เศษมีพ่อค้าต่างถิ่น อาทิ แขก กุหล่า พม่า เข้ามาตั้งร้านค้าชั่วคราวรวมทั้งมีพ่อค้าเร่จากบ่อพลอยไพลิน บ่อนาวง ที่มาซื้อขายสินค้าต่างๆ และนำพลอยมาขายปีละนับพันคนเมื่อศูนย์กลางการค้าภายใน เมืองจันทบุรีย้ายไปอยู่ที่ ตลาดน้ำพุลักษณะทางกายภาพของท่าหลวง-ตลาดล่างยังปรากฏให้เห็นวัฒนธรรมการตั้งบ้าน เรือนหรือ ร้านค้าที่ หันหลังให้แม่น้ำ หันหน้าเข้าสู่ถนนบ้านเรือนเป็นเรือนติดดินนิยมสร้างเป็นเรือนหลังใหญ่ทรงจั่วใช้วัสดุ ในท้องถิ่น ก่อสร้าง อาทิ ไม้แฝก ใบจากนิยมยื่นชายคากออกมาเพื่อเป็นร้านค้าติดระเบียงทางเดิน ด้านหน้าตาม ลักษณะที่ พักอาศัยกึ่งพาณิชย์อันเป็นลักษณะวัฒนธรรมการค้าขายของชาวจีน อาคารพักอาศัยและร้านค้า ย่านท่าหลวง เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมาก ควรจะมีการอนุรักษ์เอาไว้เพื่อการท่องเที่ยว หรือโฮมสเตย์ ปัจจุบันยังมีกองถ่ายละคร และกองถ่ายภาพยนตร์ รวมทั้งภาพยนตร์โฆษณา มาใช้โลเกชั่น บริเวณ นี้กันบ่อยๆ


















































































































แผนที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร

จุดชมวิวเนินนางพญา

จุดชมวิวเนินทางพญา ตั้งอยู่บนเนินริมทะเลใกล้กับหาดคุ้งวิมานและปากอ่าวคุ้งกระเบน เป็นจุดชมวิวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดจันทบุรีเพราะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม  ทั้งถนนเลียบชายทะเลที่ทอดยาวไปจนถึงหาดคุ้งวิมาน อ่าวคุ้งกระเบนที่เวิ้งว้างกว้างใหญ่ และแหลมเสด็จที่อยู่ฝั่งตรงข้ามตรงบริเวณปากอ่าว
นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปยังจุดชมวิวแห่งนี้สามารถที่จะขับรถยนต์เลียบชายทะเลมาจากหาดคุ้งวิมาน และขับรถยนต์ส่วนตัวขึ้นไปจอดที่บนเนินซึ่งเป็นจุดชมวิวได้ทางขึ้นเป็นถนนลาดยางและมีบริเวณให้กลับรถได้บนเนินแต่พื้นที่ไม่กว้างขวางมากนัก ถ้ามีผู้ไปชมกันมากแนะนำให้จอดรถไว้ด้านล่างแล้วแล้วเดินขึ้นไปชมจะสะดวกกว่า
บริเวณยอดเนินที่เป็นจุดชมวิวที่ติดกับทะเลมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันมาก ผู้ที่ไปชมวิวไม่ควรที่จะปืนป่ายหรือไต่ลงไปเพื่อถ่ายภาพ เพราะอาจจะประสบอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเด็กๆ ขึ้นไปชมวิวด้วยผู้ปกครองควรที่จะดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด


แผนที่จุดชมวิวเนินนางพญา

วัดมังกรบุปผาราม











    วัดมังกรบุปผาราม มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า เล่งฮั้วยี่ มีพื้นที่จำนวน 8 ไร่เศษ มีประวัติเกี่ยวข้องกับ พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(สกเห็ง) ปฐมเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพฯ และวัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวคือ

    ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ท่านพระอาจารย์สกเห็งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เดินทางเข้ามาเพื่อนมัสการปูชนียสถานในประเทศไทย เมื่อแรกที่ท่านเข้ามานั้นได้จำพรรษาอยู่ ณ วิหารพระกวนอิมข้างวัดกุศลสมาคร ชาวจีนในพระนครเห็นความเคร่งครัดในศิลาจารวัตรก็พากันเลื่อมใสจึงชวนกันเรี่ยไรเงินบูรณะเป็นอารามฝ่ายจีนนิกายชื่อ วัดย่งฮกยี่ ต่อมาได้รับพระราชทานนามวัดเป็นภาษาไทยว่า “วัดบำเพ็ญจีนพรต” จึงเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จีนจำพรรษาตั้งแต่นั้นมา เมื่อมีพระสงฆ์จีนมากขึ้น


    ท่านพระอาจารย์สกเห็งเห็นว่า ควรจักขยับขยายวัดฝ่ายจีนนิกายให้กว้างออกไป ท่านได้เลือกชัยภูมิแห่งหนึ่งตรงบริเวณถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบฯ สร้างอารามใหญ่ขึ้น ทั้งนี้โดยพระบรมราชูปถัมภ์และการช่วยเหลือของพุทธบริษัทไทย-จีน ได้ชื่อทางภาษาจีนว่า “วัดเล่งเน่ยยี่” ต่อมาพระอาจารย์สกเห็งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามวัดเป็นภาษาไทยว่าวัดมังกรกมลาวาส


    ต่อมาพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(สกเห็ง) กับศิษย์ผู้หนึ่งชื่อ “พระกวยเล้ง” ได้ไปสร้างวัดเล่งฮกยี่ หรือ “วัดจีนประชาสโมสร” ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และท่านเตรียมจะสร้างวัดเล่งฮั้วยี่ หรือวัดมังกรบุปผาราม ที่จังหวัดจันทบุรี อีกแห่งหนึ่ง โดยท่านได้จาริกมาจำพรรษาที่นี่ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2417


    ซึ่งต่อมาพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(สกเห็ง) ได้นำคณะพุทธศาสนิกชนชาวจีนเข้ารับเสด็จ และกราบทูลรายงานการก่อสร้างวัด เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกพลิ้ว ปีวอก พ.ศ. 2427 (มีปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันภาค 24 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันออก)


    แต่ต่อมาท่านพระอาจารย์สกเห็ง เกิดอาพาธถึงแก่มรณภาพเสียก่อน จึงเหลือแต่มงคลนามสำนักแห่งนี้ ซึ่งท่านได้ตั้งชื่อภาษาจีนว่า เล่งฮั้วยี่ ศิษย์ของท่าน คือ หลวงจีนคณาณัติจีนพรต (กวยล้ง) ได้ดำเนินการต่อ แต่ท่านพระอาจารย์กวยเล้ง ก็ได้มรณภาพลงเสียก่อน สำนักแห่งนี้จึงไม่สำเร็จตามโครงการที่วางไว้


    หลังจากนั้นเป็นเวลา 80 ปีเศษ สำนักแห่งนี้รกร้างและมีหลักฐานเป็นที่ดินแปลงหนึ่งของธรณีสงฆ์ ตั้งอยู่บริเวณปากทางเข้าน้ำตกพลิ้ว ด้วยเหตุที่การคมนาคมไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน และยังชุกชุมด้วยไข้ป่า ทางราชการสมัยนั้น จึงได้ยกธรณีสงฆ์แห่งนี้ถวายวัดเขตต์นาบุญญาราม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในสังกัดอนัมนิกายปกครองรักษาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันเหลือแต่มงคลนามของวัด


    จนประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีพระเจตชฎา ฉายาเย็นฮ้วง ศิษย์ของท่านพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้ง) อดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย บังเกิดกุศลเจตนาที่จะสืบสานงานก่อสร้าง สำนักวัดมังกรบุปผาราม(เล่งฮั้วยี่) ให้สำเร็จตามเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์ โดยท่านได้ปฏิบัติธรรมหาความวิเวกเดินตามแนวทางของท่านอาจารย์จีนนิกายในอดีต ณ บริเวณน้ำตกพลิ้ว อาศัยพุทธบารมีเป็นที่ตั้ง ด้วยความศรัทธามั่นคงของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดในการนำของอุบาสก-อุบาสิกา ได้แก่

    1.อึ้งชุงฮ้อกอี
    2.จีนล่งเส็งอี
    3.บ้วนแซอี
    4.นายสำรอง จิตตสงวน
    5.นายซ้อน ริผล
    จึงได้รวบรวมปัจจัย ทั้งด้านทุนทรัพย์และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและแรงงานเพื่อพระพุทธศาสนาได้จัดหาที่ดินแปลงหนึ่ง เป็นสถานที่ก่อสร้างวัดที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย มีความยินดีได้ร่วมแรงร่วมใจปฏิสังขรณ์ก่อสร้างวัดมังกรบุปผารามขึ้นใหม่ แต่ต่อมาพระเย็นฮ้วง มรณภาพลงด้วยไข้มาเลเรีย เมื่อ พ.ศ. 2518 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้ง) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายในครั้งนั้น จึงได้มีบัญชามอบภารกิจให้ หลวงจีนคณาณัติจีนพรต(เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพยวารีวิหาร ได้ดูแลนำพุทธศาสนิกชนร่วมสนับสนุนจนการก่อสร้างวัดได้สำเร็จลง

    วัดมงกรบุปผาราม ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท เส้นทางสายจันทบุรี-ขลุง ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 16 กิโลเมตร (ใกล้ทางแยกเข้าน้ำตกพลิ้ว) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2520 เป็นวัดในพุทธศาสนา นิกายมหายาน มีศาลาและพระอุโบสถที่ตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสกเป็นลวดลายต่างๆอย่างงดงาม ภายในวัดมีบรรยากาศที่เงียบสงบ และร่มรื่น เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม ซึ่งทางวัดยินดีจะอำนวยความสะดวกในด้านที่พัก


    วัดแห่งนี้มีงานประจำปีที่สำคัญ 2 งาน คือ งานบุญกฐินจะจัดขึ้นหลังช่วงเทศกาลออกพรรษา และงานทำบุญประจำปีของวัด ซึ่งจะจัดขึ้นหลังวันตรุษจีน 21 วัน ซึ่งจะมีประชาชนเดินทางมาร่วมทำบุญถือศีล และพำนักที่วัดตลอดช่วงการจัดงานนาน 7-10 วัน




ซุ้มประตูวัดมงกรบุปผาราม มีระยะทางในการเดินทางประมาณ 14 กิโลเมตร จากแยกในตัวเมืองจันทบุรีตามเส้นทางสู่อำเภอขลุง พาเรามาหยุดอยู่ที่หน้าซุ้มประตูวัดศิลปะแบบจีน
ที่สวยงามของวัดมงกรบุปผาราม ปัจจุบัน
มีต้นไม้ปกคลุมตามแนวกำแพงจนอาจจะสังเกตุเห็นวัดได้ยากสักหน่อย แต่ก็ยังเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะเราจะเห็นทางแยกซ้ายมือเข้าน้ำตกพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรี นั่นหมายความว่าเราได้มาอยู่ที่วัดมังกรบุปผารามเรียบร้อยแล้ว มองเข้าไปด้านในจากไกลๆ เราจะเห็นอุโบสถสูงพ้นกำแพงของวัดด้านหลังเป็นแนวเขามีเมฆปกคลุมสวยงามมาก เหมาะแก่การถ่ายรูปเป็นที่ระลึกมาก


หอสังฆารามปาลโพธิสัตว์ หรือในภาษาจีน 
แคน้ำผู่สัก , กวนอู สังฆารามปาลโพธิสัตว์หรือแคน้ำผู่สักเป็นพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานทำหน้าที่รักษาพระอาราม พระคัมภีร์สัปตพุทธอัษฏโพธิสัตว์ธารณีสูตรกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ผู้ทำหน้าที่รักษาพระอารามมีทั้งสิ้น 18 องค์ มีชื่อดังนี้ 1.ศุภโฆษ 2. พรหมโฆษ 3. ทิวยทุนทุ 4. จิตรศรี 5. ศุภคังส 6. วิปุลยศรี 7. ครรชิตโฆษ 8. สีหโฆษ 9. สุศุภ 10. พรหมสวร 11. นรโฆษ 12. พุทธทาส 13. คังสคุณ 14. วิรูปักษ์ 15. สุเนตร 16. วิทโศรต 17. วิททัศน์ 18. วิศวทัศน์ 
นอกจากที่กล่าวมานี้พระโพธิสัตว์ประจำสังฆาราม ยังรวมไปถึงเจ้าที่ที่วัดตั้งอยู่ด้วย แต่ในปัจจุบัน ภาพสังฆารามโพธิสัตว์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป เป็นภาพของกวนอูขุนพลแห่งสมัยสามก๊ก ที่เป็นดังนี้สืบเนื่องมาจากชีวประวัติของกวนอูมีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาก ทีนี้เราคงจะเข้าใจกันมากขึ้นแล้วว่าเหตุใดเวลาไปวัดจีน เราจึงเห็นเทพเจ้ากวนอูอยู่ทุกแห่ง

 เมื่อเราเข้ามาในวัดหันหน้าเข้าหาอุโบสถเราจะเห็นหอแปดเหลี่ยม 2 หลัง ตั้งอยู่ด้านซ้ายและขวาหอสังฆารามปาลโพธิสัตว์ อยู่ด้านขวาทิวทัศน์โดยรวมแล้วดูสวยงามกว่าก็เลยเก็บภาพมาให้ขมหอเดียว แต่หอแปดเหลี่ยมทั้งสองมีลักษณะคล้ายๆ กัน


พระโพธิสัตว์กวนอิม อยู่ตรงกลางน้ำพุด้านหน้าทางเข้าอุโบสถ อาคารที่เห็นอยู่ด้านหลังของเจ้าแม่กวนอิมเป็นอาคารศิลปะแบบจีนยาวตลอดแนว ทัศนียภาพด้านหลังที่เป็นแนวเขาปกคลุมด้วยเมฆหมอกสวยงามมาก แต่ในวันที่ไปเป็นช่วงที่วัดอยู่ในระหว่างการบูรณะจึงมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ วางเรียงรายก็เลยเก็บภาพเป็นมุมแคบๆ มาให้ชมแทน ไว้บูรณะเสร็จแล้วคงได้ไปเก็บภาพที่สวยงามยิ่งกว่านี้มาฝากกันครับ

ประตูทางเข้าอุโบสถ เดินอ้อมน้ำพุเจ้าแม่กวนอิมมาจะเห็นมีประตูขนาดใหญ่ให้เข้าไปด้านใน ภายในนี้มีพระสกันทโพธิสัตว์ (อุ่ยท้อผู่สัก) ประดิษฐานอยู่ตรงกลาง อุ่ยท้อผู่สักมีความหมายว่า ผู้มีอานุภาพสนองปฏิการะ เป็นมหาเทพโพธิสัตว์องค์หนึ่ง มีหน้าที่รักษาพระศาสนา ในห้องนี้รายล้อมไปด้วยเทพอีกหลายองค์ เช่น ท้าววิรุฬหกมหาราช แต่เป็นลักษณะศิลปะจีนมหายาน เดินทะลุออกไปอีกด้านหนึ่งจะมีกระถางธูปขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางแจ้ง เดินไปยังอุโบสถบูชาธูปเทียนเพื่อกราบไหว้ จากนั้นจะมีหมายเลขบอกการไหว้ก่อนหลัง
 อุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานสามพระองค์ เมื่อเราหันหน้าสู่ภายในอุโบสถ คือองค์กลางพระศากยมุนีพุทธเจ้า(เซ็กเกียหม่อนี้ฮุก) องค์ซ้ายพระอมิตาภพุทธเจ้า (ออมีท้อฮุก) องค์ขวาพระไภษัชยคุรุ พุทธเจ้า(เอี๊ยะซือฮุก) พร้อมด้วยพระสาวกเบื้องซ้ายและขวา คือพระมหากัสสปเถระ(เกียเหี๊ยะจุนเจี้ย) และพระอานนท์(ออหนั่งท้อจุนเจี้ย) ด้านข้างประดิษฐานพระมัญชุศรีโพธิสัตว์(บุ่งซู่ผ่อสัก) ผู้เลิศด้วยมหาปัญญาประทับบนหลังสิงโต หมายถึงพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ทรงมีพระปัญญาคุณเลิศกว่าหมู่สรรพสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์(โผวเฮี้ยงผ่อสัก) ผู้เลิศด้วยมหาจริยาประทับบนหลังช้างเผือกหกงา อันหมายถึงบารมีหก ที่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญ รูปเคารพทั้งหลายปิดทองคำเปลวเหลืองอร่ามประดิษฐานภายในซุ้มแบบจีนบนฐานชุกชี ภายในมีลวดลายไม้แกะสลักปิดทองแบบศิลปะจีนอย่างสวยงาม พื้นภายในเป็นหินขัดยอดหลังคาอุโบสถเป็นเจดีย์ พื้นอุโบสถด้านนอกเป็นหินขัดลายจีน อุโบสถมี 3 ชั้นด้วยกัน มีอาคารอยู่รอบด้าน ในยามปกติเป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก แต่ในระหว่างการบูรณะส่วนหลังคาอุโบสถก็จะมีการตั้งโครงเหล็กโครงไม้อยู่โดยรอบ เราจึงต้องรอให้การบูรณะเสร็จเสียก่อนแล้วค่อยไปเก็บภาพมาให้ชมใหม่

รอบๆ วัดมังกรบุปผาราม นอกจากที่กล่าวมานี้ยังมี วิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(กวนซีอิมผ่อสัก) ปางสหัสรหัตถ์สหัสรเนตร (พระกวนอิมปางพันมือพันตา) วิหารพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์(ตี่จั่งอ้วงผ่อสัก) วิหารบรรพบุรุษเป็นที่สาธุชนตั้งป้ายบูชาวิญญาณผู้ล่วงลับ และสถูปเจดีย์ทรงธิเบตที่บรรจุอัฐิบูรพาจารย์ด้านหลังวัด แวดล้อมด้วยหมู่กุฏิสงฆ์ โรงครัว โรงอาหาร ที่พักผู้ปฏิบัติธรรม เรียงรายอยู่โดยรอบอย่างเป็นระเบียบทางเดินภายในวัดส่วนใหญ่เป็นหินขัด



ช่วงปิดท้ายด้วยภาพเจ้าแม่กวนอิมด้านหน้าอีกภาพครับ รอบๆ น้ำพุมีดอกบัวสวยๆ กาลเวลาที่ผ่านไปหลายสิบปี ทำให้มีการชำรุดทรุดโทรมหลายส่วน ภาพที่เก็บมาฝากกันในวันนี้ยังคงขาดไปหลายส่วน เมื่อการบูรณะแล้วเสร็จเราจะได้ชมภาพเต็มๆ กันอีกครับอย่างแน่นอนครับ











แผนที่วัดมังกรบุปผาราม

ศาลหลักเมืองจันทบุรี


ศาลหลักเมืองของจังหวัดจันทบุรี สันนิษฐานว่าพระเจ้าตากทรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2310 เป็นสถานที่ศักดิ์คู่เมืองที่ชาวจังหวัดจันทบุรีให้ความเคารพสักการะ และมากราบไหว้บูชา ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลกันเป็นประจำทุกวันศาลหลักเมืองจันทบุรีหลังปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่หน้าค่ายตากสินด้านซ้าย เป็นศาลหลักเมืองที่ตั้งขึ้นหลังจากย้ายเมืองมาจากบ้านหัววัง (ตำบลพุงทะลายเดิม หรือตำบลจันทนิมิตในปัจจุบัน) มาแล้ว ศาลดั้งเดิมคงจะสร้างด้วยศิลาแลงและได้ชำรุดทรุมโทรมไปจนต้นโพธิ์ต้นข่อยขึ้นปกคลุม และในที่สุดตัวศาลก็ไม่เหลืออยู่และหลักเมืองเองก็ไม่ทราบว่ามีรูปร่างลักษณะอย่างไร เมื่อประมาณกว่า 50 ปีมาแล้ว ศาลหลักเมืองแห่งนึ้เป็นศาลไม้อยู่ระหว่างต้นข่อยใหญ่ 2 ต้นศาลหนึ่ง และยังมีอีกศาลหนึ่งอยู่ใต้ต้นข่อยอีกต้นหนึ่ง ที่บริเวณโคนต้นข่อยเคยมีก้อนศิลาแลงอยู่เป็นจำนวนมากศาลหลักเมืองแห่งที่กล่าวถึงนี้ ก็คือศาลหลักเมืองซึ่งทางจังหวัดจันทบุรีได้กำหนดให้เป็นศาลหลักเมืองจันทบุรีปัจจุบัน ที่ได้มีการก่อสร้างศาล ฝังเสาหลักเมือง และหล่อองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่เพื่อให้สง่างามสมศักดิ์ศรีของเมืองพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกล่าวไว้ว่า พระองค์ได้เมืองจันทบุรีเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนเจ็ด ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2310 หากข้อสันนิษฐานที่ว่าศาลหลักเมืองแห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสร้างขึ้นเป็นความจริงแล้ว ก็อาจจะสรุปได้ว่าศาลหลักเมืองเดิมแห่งนี้ คงสร้างขึ้นในราวพุทธศักราช 2310 นั่นเองเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นแท่งศิลาประดิษฐานภายในอาคารทรงไทยแบบจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้า ใบระกา มีปรางค์ที่ด้านบนอาคาร มีบันไดทางขึ้นสี่ด้าน





































































































































































แผนที่ศาลหลักเมืองจันทบุรี

ข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์

แบบประเมินความพึงพอใจการอบรม Google Docs

 
Blogger Templates